จำนวนและระยะเวลาการยืมทรัพยากรสารสนเทศหอสมุดกลาง

โครงการห้องสมุดมีชีวิต 2567

       สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ  มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ จัดโครงการห้องสมุดมีชีวิต ระหว่างวันที่ 25 – 26 กรกฎาคม 2567  ณ ลานกิจกรรมชั้น 1 อาคารบรรณราชนครินทร์ (หอสมุดกลาง) สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ    มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์  โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรีชา  ศรีเรืองฤทธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์  เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการครั้งนี้

กิจกรรมภายในงานมีดังนี้
+ คัดเลือกหนังสือ Book Fair
+ การทำโยเกิร์ตโฮมเมดเพื่อสุขภาพ (Greek Cup หรรษา)
+ การประดิษฐ์ช่อดอกไม้เข็มกลัดติดเสื้อ
+ วาดภาพระบายสี (สมุดทำมือ)
+ การทำ “ยาดมสมุนไพร”
+ Book Clinic ซ่อมหนังสือที่คุณรัก
+ กิจกรรมจิตอาสาดิจิทัลเพื่อชุมชน

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้ปัญญาประดิษฐ์ AI เป็นผู้ช่วยเขียนบทความวิชาการ รุ่นที่ 2

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้ปัญญาประดิษฐ์ AI เป็นผู้ช่วยเขียนบทความวิชาการอย่างสร้างสรรค์ รุ่นที่ 2
*************************

          วันที่ 21 มิถุนายน 2567  สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้ปัญญาประดิษฐ์ AI เป็นผู้ช่วยเขียนบทความวิชาการอย่างสร้างสรรค์ รุ่นที่ 1 ให้กับอาจารย์ นักศึกษา บุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์ และประชาชนทั่วไปที่สนใจ ซึ่งได้รับเกียรติจากผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร. กิติพงษ์  สุวรรณราช  อาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ผู้เชี่ยวชาญ Generative AI  บรรยายให้ความรู้ ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ IT105 อาคารเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ 
        โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีทักษะด้านดิจิทัลในการพัฒนางานด้านวิชาการ งานวิจัย และการเขียนวิเคราะห์และประเมินค่างาน โดยใช้หลักปัญญาประดิษฐ์ AI เข้ามาช่วย 

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้ปัญญาประดิษฐ์ AI เป็นผู้ช่วยเขียนบทความวิชาการ รุ่นที่ 1

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้ปัญญาประดิษฐ์ AI เป็นผู้ช่วยเขียนบทความวิชาการอย่างสร้างสรรค์ รุ่นที่ 1
*************************

          วันที่ 20 มิถุนายน 2567  สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้ปัญญาประดิษฐ์ AI เป็นผู้ช่วยเขียนบทความวิชาการอย่างสร้างสรรค์ รุ่นที่ 1 ให้กับอาจารย์ นักศึกษา บุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์ และประชาชนทั่วไปที่สนใจ โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปรีชา ศรีเรืองฤทธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์  เป็นประธานเปิดโครงการ ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ IT105 อาคารเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ 
        โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีทักษะด้านดิจิทัลในการพัฒนางานด้านวิชาการ งานวิจัย และการเขียนวิเคราะห์และประเมินค่างาน โดยใช้หลักปัญญาประดิษฐ์ AI เข้ามาช่วย  ผู้เข้ารับการอบรมในครั้งนี้ประกอบด้วย ครู อาจารย์ บุคลากร นักศึกษาของมหาวิทยาลัย และประชาชนทั่วไปที่สนใจ  ซึ่งได้รับเกียรติจากผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร. กิติพงษ์  สุวรรณราช  อาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ผู้เชี่ยวชาญ Generative AI  บรรยายให้ความรู้ในครั้งนี้

ขอเชิญชวนสมาชิกหอสมุดกลาง ตรวจสอบข้อมูล การยืม-คืน และรายการค้างส่งทรัพยากรสารสนเทศ

ตรวจสอบข้อมูลการยืมหนังสือ และรายการค้างส่งทรัพยากรสารสนเทศ หอสมุดกลาง  

ได้ที่นี่ !!

>> ตรวจสอบข้อมูล ผ่านระบบบริการสืบค้นจาก Web OPAC ..Click..

>> ขั้นตอนการตรวจสอบรายการยืมทรัพยากรออนไลน์ ด้วยตนเอง  ..CliCk..

การเตรียมห้องสมุดคณะพยาบาลศาสตร์

การเตรียมห้องสมุดคณะพยาบาลศาสตร์

งานหอสมุดกลาง สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ดำเนินการจัดเตรียมพื้นที่ให้บริการหนังสือของคณะพยาบาลศาสตร์ รวมทั้งการเตรียมทรัพยากร หนังสือ ตำราหลักทางการพยาบาล ทั้งหมดจำนวน 1,228 เล่ม โดยมีขั้นการกระบวนการปฏิบัติงานประกอบด้วย 1.) ตรวจสอบรายชื่อหนังสือ 2.) กระบวนงานเทคนิคในการเตรียมหนังสือก่อนออกให้บริการ ประกอบด้วย ประทับตรา เข้าเล่มหนังสือ ติดบาร์โค้ดหนังสือ ติดแถบสัญญาณ FRID ติดเลขเรียกหนังสือ 3.) จำแนกหมวดหมู่หนังสือและกำหนดหัวเรื่อง ตามระบบทศนิยมดิวอี้ของเมลวิล ดิวอี้ (Melvil Dewey) 4.) บันทึกข้อมูลรายการบรรณานุกรมลงในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WALAI AutoLib ในรูปแบบมาร์ก 21 (Machine Readable Catalog) ซึ่งยึดหลักเกณฑ์การลงรายการต่าง ๆ ตามมาตรฐาน AACR2 (Anglo-American Cataloguing Rules 2 nd edition) และ 5.) จัดเรียงหนังสือขึ้นชั้น เรียบร้อยพร้อมให้บริการแล้ว

โครงการอบรมการทำผ้าพิมพ์ลายจากใบไม้ (Eco Print)และส่งเสริมการขายผ่านสื่อสังคมออนไลน์

การทำผ้าพิมพ์ลายจากใบไม้ (Eco Print)และส่งเสริมการขายผ่านสื่อสังคมออนไลน์

       วันที่ 21-22 กันยายน 2566 มหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยงานหอสมุดกลาง สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จัดโครงการห้องสมุดมีชีวิต เรื่อง การทำผ้าพิมพ์ลายจากใบไม้ (Eco Print) และส่งเสริมการขายผ่านสื่อสังคมออนไลน์ โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เดือนฉาย ไชยบุตร รองอธิการบดี ฯ เปิดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ

โดยมีกิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้และฝึกปฏิบัติการขายผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ในวันที่ 21 กันยายน 2566 นำทีมวิทยากรโดย ผศ.เจษฏาพร ปาคำวัง, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดวงจันทร์ สีหาราช และ อาจารย์จิตรนันทน์ ศรีเจริญ

และกิจกรรมที่ 2 การทำผ้าพิมพ์ลายจากใบไม้ (Eco Print) ในวันที่ 22 กันยายน 2566 นำทีมโดยวิทยากร อาจารย์นงลักษณ์ ยุทธศิลปะเสวี และ อาจารย์นาฏอนงค์ พวงสมบัติ ซึ่งเป็นการใช้สีจากใบไม้ธรรมชาติ และนำผ้าที่ได้จากการพิมพ์ลายไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ อาทิเช่น กระเป๋าผ้า ผ้าปูโต๊ะ ผ้าคลุมเก้าอี้ หมวก ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ พวงกุญแจ ปกสมุดบันทึก เป็นต้น

โดยมุ่งให้ผู้เข้าร่วมได้นำเอาผลิตภัณฑ์ที่ได้ไปต่อยอดเป็นการสร้างรายได้ เสริมให้กับครัวเรือน ชุมชน และท้องถิ่น

โครงการอบรม เรื่อง การสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์, ฐานข้อมูล e-Book และ Web Opac 2566

วันที่ 30 สิงหาคม 2566 เวลา 13.00 น. งานหอสมุดกลาง สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ จัดอบรมการสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์, ฐานข้อมูล e-Book และ Web Opac” โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ดร.นิคม โยกัญญา รองอธิการบดีฝ่ายบัณฑิตศึกษาและกิจการพิเศษ เป็นประธานการอบรมการสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์, ฐานข้อมูล e-Book และ Web Opac” โดยสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ จัดโครงการนี้ขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ใช้รู้จักทรัพยากรสารสนเทศ การบริการของห้องสมุด ตลอดจนรู้วิธีการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศที่มีให้บริการในห้องสมุดและสามารถใช้เครื่องมือในการค้นหาทรัพยากรสารสนเทศที่ห้องสมุดจัดให้บริการได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โครงการดังกล่าวจัดให้มีการอบรมให้กับนักศึกษาเป็นรายคณะ ในวันที่ 30 สิงหาคม 2566 วันที่ 6, 13, 20 และ 27 กันยายน 2566 ดังนี้ วันที่ 30 สิงหาคม 2566 คณะครุศาสตร์ วันที่ 6 กันยายน 2566 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วันที่ 13 กันยายน 2566 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วันที่ 20 กันยายน 2566 คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม วันที่ 27 กันยายน 2566 คณะวิทยาการจัดการ